“ลอยกระทง” จุดเริ่มต้นแห่งตำนานกระทงดอกบัว-นางนพมาศ


“กระทงดอกบัว” และ “นางนพมาศ” จุดเริ่มต้นแห่งตำนานที่มากับความเชื่อในวันลอยกระทง

วันลอยกระทง ถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของคนทั่วโลก บางหลักฐานเชื่อว่าถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที หรือเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก ทำให้แต่ละประเทศทั่วโลกจะมีการจัดงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

สำหรับประเทศไทย วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ดังนั้นในแต่ละปีวันสำคัญนี้จะไม่มีวันที่ตายตัว แต่ที่แน่นอนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี 

และ ในปีนี้จะตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565

ประวัติวันลอยกระทงไทย

วันลอยกระทงของไทยนั้น ไม่มีหลักฐานระบุอย่างแน่ชัดว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไร แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุด ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทง ซึ่งในสมัยนั้นเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป”

ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร (พระศิวะ) พระนารายณ์ (พระวิษณุ) และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่ นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์ “กระทงดอกบัว” ขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม

เมื่อสมเด็จพระร่วงได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย

ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า “เรือลอยประทีป”

ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง แต่การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

กิจกรรมวันลอยกระทง

ในช่วงวันลอยกระทง กิจกรรมที่คนไทยมักทำกัน ไม่ได้มีแต่ลอยกระทงเท่านั้น ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ได้แก่

1.) ประกวดนางนพมาศ

ด้วยประวัติของ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้า ที่เป็นหญิงงาม ฉลาด และเป็นผู้ประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวคนแรก จึงเป็นต้นแบบของการประกวดนางนพมาศในวันลอยกระทงนั่นเอง

2.) ไหว้พระทำบุญในวันลอยกระทง

การตักบาตรไหว้พระทำบุญ จะช่วยเสริมสิริมงคลให้กับชีวิตและครอบครัว ที่สำคัญยังช่วยให้จิตใจผ่องใสได้ด้วย

3.) ลอยกระทง

การลอยกระทงนอกจากจะเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าทำแล้ว ยังเป็นการร่วมสืบสานประเพณีไทยด้วย รวมถึงยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อสายน้ำ ด้วยการรำลึกและขอขมาพระแม่คงคา

4.) ปล่อยโคมลอย

การปล่อยโคมลอย เป็นประเพณีทางภาคเหนือที่จะใช้โคมลอยแทนกระทง ซึ่งจะเรียกว่า “ยี่เป็ง” โดยเป็นความเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสบแต่สิ่งดีงาม และยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาแต่ครั้งปู่ ย่า ตา ยายด้วย

5.) ทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง

หากใครที่กำลังอยากจะทำความดีในวันลอยกระทงนั้น อาจจัดกลุ่มหรือเข้าร่วมกลุ่มทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองได้ เพราะเป็นการปลูกฝังตัวเองให้รู้จักคุณค่าของน้ำ ถือเป็นการทำความดีอย่างหนึ่งนั่นเอง

6.) ชมปรากฏการณ์จันทรุปราคา

วันลอยกระทงปีนี้พิเศษกว่าปีไหนๆ เพราะตรงกับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 17.44-20.56 น.

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์


  1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล
    เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูล
  2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูลได้แก่    ลูกโลก  แผนที่  ข้อมูลสถิติ  กราฟและแผนภูมิ     แผนภาพ   ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
  3. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูลได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น
  4. ลูกโลก คือ หุ่นจำลองของโลก
  5. ลูกโลกแบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะการแสดง ได้แก่
    5.1 ลูกโลกที่แสดงลักษณะพื้นผิวโลก
    5.2 ลูกโลกที่แสดงลักษณะโครงสร้างภายในเปลือกโลก
  6. ข้อมูลสถิติทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงมีทั้งข้อมูลข้อความและตัวเลข นิยมแสดง 2 รูปแบบ ได้แก่
    6. 1. ตารางสถิติ  
    6. 2. กราฟและแผนภูมิ
  7. เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น
  8. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้วัดลักษณะอากาศ ได้แก่
    8.1 เทอร์โมมิเตอร์ Thermometer คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณหภูมิ มีหน่วยวัดเป็น องศาเซลเซียส    องศาฟาเรนไฮด์   องศาสเคลวิน   องศาโรเมอร์
    8.2 เทอร์โมกราฟ Thermograph คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณหภูมิ แบบหนึ่ง แต่ปลายเข็มชี้ต่อเข้ากับปากกา สามารถขีดบนกระดาษกราฟที่หมุนด้วยลานนาฬิกาบันทึกการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ตลอดเวลาด้วยเส้นกราฟอัตโนมัติ 8.3 บารอมิเตอร์ Barometer  คือ เครื่องมือสำหรับวัดความกดอากาศ
    8.4 บารอกราฟ barograph คือ เป็นแอนิรอยด์บารอมิเตอร์แบบหนึ่ง แต่ปลายเข็มชี้ต่อเข้ากับปากกา สามารถขีดบน กระดาษกราฟ ที่หมุนด้วยลานนาฬิกาบันทึกการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศได้ตลอดเวลาด้วยเส้นกราฟอัตโนมัติ
    8.5 แอโรเวน Aerovane  คือ อุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม
    8.6 แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) คือ เครื่องมือใช้วัดความเร็วของลม
    8.7 วินเวน Wind Vane  คือ เครื่องมือใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่หรือลูกศร
    8.8 ไฮโกรมิเตอร์  Hygrometer  คือ อุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศ โดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชื้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น
    8.9 ไซโครมิเตอร์  Psychrometer คือ อุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง และ เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก
    8.10 เครื่องวัดน้ำฝน Rain Gauge คือ เครื่องมือสำหรับตรวจวัดปริมาณฝนโดยวัดเป็นความสูงของน้ำที่ได้จากน้ำฟ้าที่ตกลงมา โดยสมมติให้น้ำนั้นแผ่กระจายไปบนพื้นราบที่ไม่มีการดูดซึมและไม่มี การระเหยเกิดขึ้น
  9. ความกดอากาศ คือ มวลของอากาศที่กดลงบนพื้นที่ 1 ตารางหน่วย
  10. มิลลิบาร์ millibar คือ หน่วยวัดความกดอากาศ  (1 มิลลิบาร์ = 1000 บาร์) หรือ (1 มิลลิบาร์ = 1,000 ไดน์ต่อตารางเซนติเมตร)
  11. ความกดอากาศ ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง   1013.341   มิลลิบาร์
  12. ไอโซบาร์ isobar  คือ เส้นความกดอากาศเท่า (เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน)
  13. ไอโซเทอร์ม isotherm คือ เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีอุณหภูมิเท่ากัน
  14. ไอโซไฮท์ isohyet คือ เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนท่ากัน
  15. เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่
    15.1 เข็มทิศ compass คือ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้หาทิศทาง โดยเข็มทิศจะชี้ทิศเหนือแม่เหล็กโลกเสมอ โดยหน้าปัดของเข็มทิศจะบอกตำแหน่งทิศหรือค่ามุมที่กำหนด
    15.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ planimeter คือ มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต     ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด
    15.3 กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป Stereoscope คือ อุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ
    15.4 กล้องวัดระดับ  Telescope คือ อุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
    15.5 เครื่องย่อขยายแผนที่  patograph    คือ อุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่ เพื่อย่อหรือขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ  โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่ต้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉบับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรือขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง
    15.6 เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ map measurer คือ เป็นเครื่องมือวัดระยะทางจากรูปในแผนที่ ทำงานด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์ มีหน่วยการแสดงผลการทำงานเป็นระบบตัวเลขตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายปากกา เคลื่อนที่โดยใช้ลูกล้อ เคลื่อนไปตามเส้นทางที่ต้องการหาค่าระยะทาง
    15.7เทปวัดระยะทาง measuring tape คือ ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่
  16. รีโมทเซนซิง  Remote Sensing  (RS)  หมายถึง การรับรู้จากระยะไกล โดยใช้เทคโนโลยี ในการบันทึก คุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นโลก จากการสะท้อนหรือการแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
  17. ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก Global Positioning System (GPS) หมายถึง การบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยการใช้คลื่นสัญาณวิทยุและรหัสจากดาวเทียมมาบอกพิกัดบนพื้นผิวโลก
  18. ดาวเทียมดวงแรกที่ประเทศไทยใช้เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมีชื่อว่า ดาวเทียมธีออส THEOS-Thai (Earth Observation System)
  19. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS) จะต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง เพื่อคำนวณหาค่าพิกัดบนพื้นผิวโลก  ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้
    19.1 ส่วนอวกาศ  space segment ได้แก่   ดาวเทียม ซึ่งอยู่บนอวกาศทำหน้าที่ส่งสัญญาณ
    19.2 ส่วนสถานีควบคุม control segment ได้แก่ สถานีภาคพื้นดินที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลกทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับดาวเทียม
    19.3 ส่วนผู้ใช้ user  segment ได้แก่ เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  มีหลายขนาดสามารถพกพาไปได้ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและคำนวณหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก

แผนที่ท่องเที่ยวเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นและจังหวัดขอนแก่น


ดาวน์โหลดแผนที่แผ่นพับ

แผ่นที่-2Download

แผ่นหน้า-1Download

สนับสนุนโดย สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว โทร.043-222-397

องค์ประกอบของแผนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาสังคมศึกษา


เพื่อน ๆ คนไหนที่อยากเที่ยวรอบโลก หรืออยากเป็นไกด์นำเที่ยว บทความเรื่ององค์ประกอบของแผนที่นี้เหมาะกับเพื่อน ๆ มากเลยนะ เพราะเพื่อน ๆ จะได้ไม่งงเวลาเดินทางไงล่ะ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมี Google Map (อ่านเรื่อง Google Map เพิ่มเติมได้ที่บทความ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คลิก) คอยช่วยเวลาเดินทางก็ตาม แต่ถ้าเราดูแผนที่เป็น รู้องค์ประกอบของแผนที่ที่สำคัญ และสามารถคำนวณจากมาตราส่วนของแผนที่เป็นระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจริง ๆ ได้ เราก็จะสามารถเดินทางได้เร็วขึ้น ประหยัดเวลาขึ้นได้เป็นกอง

แผนที่คืออะไร

แผนที่ คือ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยูตามธรรมชาติและที่มนุษยสร้างขึ้นลงบนพื้นแบนราบ หรือรูปแบบกราฟิก โดยย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ

องค์ประกอบของแผนที่

สำหรับในบทเรียนออนไลน์นี้ เราจะพูดถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์

1. มาตราส่วน (Scale)

มาตราส่วน หมายถึง อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะบนพื้นผิวโลก เช่น 1 เซนติเมตร ในแผนที่ เท่ากับ 50 กิโลเมตร บนพื้นที่จริง หากเพื่อน ๆ ใช้ไม้บรรทัดวัดบนแผนที่ระหว่างสถานที่ 2 แห่ง ได้ 4 เซนติเมตร เท่ากับว่าระยะทางจริงคือ 200 กิโลเมตร เป็นต้น โดยมาตราส่วนมีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน คือ

1.1 มาตราส่วนคําพูด เช่น 1 เซนติเมตร เท่ากับ 800 เมตร

1.2 มาตราส่วนสัดส่วน เช่น 1 : 50,000 หรือ  โดยต้องเป็นหน่วยเดียวกันเสมอ

1.3 มาตราส่วนเส้น หรือ มาตราส่วนบรรทัด

2. ทิศ (Direction)

ทิศ แปลว่า แนว, ด้าน, ขาง, ทาง, เบื้อง โดยทิศมีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ ในแผนที่จะมีเครื่องหมายบอกทิศ โดยอาจมีรูปแบบแตกต่างกันดังภาพจำลองด้านล่าง

สัญลักษณ์ทิศ

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.cleanpng.com/

นอกจากนั้น เครื่องมือที่สำคัญในการค้นหาทิศทางคือ เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการบอกทิศ ทํางานโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลกกับเข็มของเข็มทิศ โดยก่อนจะใช้งาน ต้องวางเข็มทิศในแนวระนาบ และหมุนให้ลูกศรชี้ทิศเหนือ หรือตรงตัวอักษร N เสมอ และยังห้ามใช้งานใกล้กับแม่เหล็ก หรือสนามแม่เหล็ก  และเมื่อเลิกใช้งานแล้ว ห้ามวางไว้กลางแดด เพราะอาจทําให้เข็มบิดงอได้ อย่างไรก็ตามทิศเหนือในเข็มทิศเป็นทิศเหนือแม่เหล็กไม่ใช่ทิศเหนือจริง ซึ่งอาจทําให้อ่านค่าในบางพื้นที่มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

3. สัญลักษณ์ (Symbol)

สัญลักษณ์ หมายถึง เครื่องหมาย หรือ สิ่งที่กําหนดขึ้น เพื่อใช้แทนรายละเอียดต่าง ๆ ในพื้นที่จริง อาจใช้เป็นรูปร่าง ลวดลาย สี หรือขนาด ซึ่งในแผนที่จะมีคําอธิบายสัญลักษณ์กํากับไว้เสมอ โดยสัญลักษณ์นั้นมีทั้งหมด 4 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่

3.1 สัญลักษณ์จุด

3.2 สัญลักษณ์เส้น

3.3 สัญลักษณ์พื้นที่

3.4 สัญลักษณ์ข้อมูลเฉพาะเรื่อง

บทสวดมนต์ วันมาฆบูชา


1บทสวดมนต์ วันมาฆบูชา
       วันมาฆบูชา วันสำคัญทางศาสนาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าเป็นปีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จาตุรงคสันนิบาต” หมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” เพราะมี ๔ เหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์
พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า
พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ล้วนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว
เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์
  
บทสวดมนต์ วันมาฆบูชา
(หันทะ มะยัง มาฆะปะณามะคาถาโย ภะณามะเสฯ)
       มาฆะนักขัตตะยุตตายะ ปุณณายะ ปุณณะมายัง โย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา โคตะโมหะโย
สุทธานันตะทะยาณาโณ สัตถา โลเก อะนุตตะโร วิหะรันโต ราชะคะเห มาฆะทานัง คิริพภะเย
วิหาเร เวฬุวะนัมหิ กะลันทะกะนิวาปิเย สังฆัสสะ สันนิปาตัมหิ อุตตะเม จะตุรังคิเก อัฑฒะเตระสะหัสเสหิ
ภิกขูหิ ปะริวาริโต ตีหิ คาถาหิ สังขิปปัง สัพพัง พุทธานะ สาสะนัง สะโมสาเรหิ โอวาทัง ปาฏิโมกขัง อะนุตตะรัง
ตะเมวัมภูตะสัมพุทธัง สักขีณาสะวะสาวะกัง จิระกาละมะตี ตัมปิ ปะสาเทนะ อะนุตตะรัง อะยัมปิ ปะริสา สัพพา
ปะสันนา ธัมมะคามินี สัมปัตตา ตาทิสักการัง สุนักขัตตัง สุมังคะลัง ทีปะธูปาทิสักกาเร อะภิสัชชิ ยะถาพะลัง
เตหิ ปูเชตะเวหัตถะ ตุฏฐะ อิธะ สะมาคะตา อะภิวันทะติ ปูเชติ ภะคะวันตัง สะสาวะกัง กาเลนะ สัมมุขีภูตัง
อะตีตารัมมะนัตตะนา โอสาเรนะตัง ปาฏิโมกขัง วิสุทธักขะมุโปสะเถ อิโตชะเน สุปุญเญนะ โสตถี โหนตุ สะทาปิโน
สาสะนัง สัตถุ อัมหากัง จิรัง ติฏฐะตุ ตาทิโนติฯ
  
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันมาฆบูชา
        อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะ จันโท ยุตโต
ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต
โอวาทะปาติโมกขัง อุททิสิ ตะทา หิ อัฑฒะเตระสานิสัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง
       สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง
อาคะเต เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาฆะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ
ตัส๎มิญจะ สันนิปาเต ภะคะวา วิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัม๎หากัง ภะคะวะโต
อโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ
       สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง
ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา
อิมัส๎มิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง
ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต
ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม สักกาเร
ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
2บทสวดมนต์ วันวิสาขบูชา
       วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
  
บทสวดมนต์ วันวิสาขบูชา
(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
       วิสาขะ ปุณณะมายัง โย ชาโต อันติมะชาติยา ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง อะโถปิ ปะรินิพพุโต อะโถปิ ปะรินิพพุโต โลเก อะนุตตะโร
สัตถา โลเก อะนุตตะโร สัตถา โลเก อะนุตตะโร สัตถา ทะยาณาณัณณะวาสะโย นายะโก โมกขะมัคคัสมิ ติวิธัตถูปะเทสะโก
มะหาการุณิกัง พุทธัง มะยันตัง สะระณัง คะตา อามิเสหิ จะ ปูเชนตา ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา อิมันทานิ สุนักขัตตัง อะภิมังคะละสัมมะตัง
วิสาโขฬุกะยุตเตนะ ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง สัมปัตตา อะนุกาเลนะ พุทธานุสสะระณาระหัง ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ กาละภูตัง
สะยัมภุโน ตัง สัมมานุสสะระมานา สุจิรัง นิพพุตา มะปิ ปะสันนาการัง กะโรนตา สักกาเร อะภิสัชชิยะ ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร
มาลาวิกะติอาทะโย ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ ยะถาสะติ ยะถาพะลัง สะมาหะริตวา เอกัตถะ ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง
นะรานัญจาปิ สัพเพสัง สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ สัมพุทธะคุณะทีปะนัง พุทธัสสุโพธิตาทีนัง ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ
  
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันวิสาขบูชา
       ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา , โย โน ภะคะวา สัตถา ,
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ , อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ
ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน , ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ ,
       สัก๎ยะปุตโต สัก๎ยะกุลา ปัพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะ-
พ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิ อะภิสัมพุทโธ ,
นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต
       โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ,
ส๎วากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม , สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก , ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ,
      สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ , ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ , อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ,
      อะยัง โข ปะนะ ถูโป (ปะฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะโต (กะตา) ยาวะเทวะ
ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริต๎วา ปะสาทะ สังเวคะปะฏิ ลาภายะ , มะยัง โข
เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง
ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา , อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน กายัง
สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา , อิมัง ถูปัง
(ปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน , อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง
3บทสวดมนต์ วันอาสาฬหบูชา
       วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี นับเป็นวันสำคัญมากในพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง
  
บทสวดมนต์วันอาสาฬหบูชา
(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
        อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต เตนุปปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน
ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต ตัสสัตโถ อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ
เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน
เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง
ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา
ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา
อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ
สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต
สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ฯ
  
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา
        ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี
อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสา ฬ๎ หะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน
มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง
ปะวัตเต ต๎วา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ
       ตัส๎มิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัส๎มา อัญญาโกณฑัญโญ
ภะคะวะโต ธัมมัง สุต๎วา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิต๎วา ยังกิญจิ
สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ
       ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิต๎วา ภะคะวะโต เยวะสันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง
ปะฏิละภิ ต๎วา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย อะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน
อะโหสิ พุทธะระตะนังธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬ๎หะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะ-
       วัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะ ตัญจะ ระตะนัตตะยะ-
สัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน
กายัง สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา
อิมัง ถูปัง ( อิมัง พุทธะปะฏิมัง ) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ ยะถาคะหิเตหิ
       สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ ฯ

4บทสวดมนต์ เวียนเทียนสำหรับวันพระใหญ่
       ประเพณีการ “เวียนเทียน” นั้นมีจุดประสงค์เพื่อบูชาและระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยจะมีขึ้นใน วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะสวดบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ในขณะที่เวียนเทียน
  
เวียนเทียนรอบรอบที่ 1 บทสวดเพื่อระลึกถึงพระพุทธ
       “อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ”

เวียนเทียน รอบที่ 2 บทสวดระลึกถึงพระธรรม
       “สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ”
  
เวียนเทียน รอบที่ 3 บทสวดระลึกถึงพระสงฆ์
“สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ”

5บทสวดมนต์วันพระ
วันพระหรือวันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่

วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ)
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ (เว้นจากการฆ่าสัตว์, ไม่ทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจ (ตายทั้งเป็น), ไม่ทำให้ผู้อื่นเกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ เหมือนตกนรกทั้งเป็น)
๒. อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ (เว้นจากการลักทรัพย์,ไม่ขโมยเวลา เข้างานสายกลับก่อน, ไม่เขียนเบิกสิ่งของหรือเงินทองเกินความเป็นจริง, ไม่เอาของที่ทำงานกลับบ้านไปใช้ )
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ (เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, มีชู้, มีกิ๊ก ตอนแต่งงานพ่อแม่ทั้งฝ่ายหญิงและชาย จะต้องเห็นดีด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายถึงเรียกว่าไม่ผิดศีล)
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ (เว้นจากการพูดปด,พูดใส่ร้าย,คำพูดล่อลวงอำพรางผู้อื่น)
๕. สุราเมระยะมัจฉะปะมาทะถานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ (เว้นจากการดื่มสุราเมรัยเครื่องดองของเมาที่ทำให้ใจคลั่งไคล้มัวเมาต่าง ๆ จนทำให้มัวเมาตัวเอง, มัวเมาอำนาจ ลาภยศ เงินทอง และอบายมุข)

6บทแผ่เมตตาให้กับตัวเอง
      การแผ่เมตตา หมายถึงการส่งกระแสจิตของตนไปสู่ผู้อื่นทั้งที่เป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์ด้วยความหวังดีที่จะให้เขามีความสุข ได้รับความสมหวังในชีวิต เป็นการแสดงออกซึ่งน้ำใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมของผู้แผ่เมตตา
  
บทแผ่เมตตาให้กับตัวเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวรและกรรม
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความลำบาก
อะหัง อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค อันตรายสุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ รักษากาย วาจา ใจ ให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

       ปีใหม่เรามาลองเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ปีฉลูนี้ไปได้ดีแน่นอนค่ะ สวดมนต์ อิ่มบุญอิ่มใจไปกับบทสวดมนต์วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันพระใหญ่หรือวันธรรมสวนะ และบทแผ่เมตตาสำหรับตัวเองกันแล้วเราเลยอยากชวนเพื่อน ๆ ไปเขาคิชฌกูฏกับคู่มือขึ้นเขาคิชฌกูฏที่หนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียวเองนะถ้าคิดว่าขึ้นเขาแล้วไม่มีที่พักเราขอฝากที่พักจันทบุรีไว้ในอ้อมใจกันอีกสักบทความ

อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/trips/thai-buddhist-prayer?ref=ct

พุทธศาสนสุภาษิต


สุภาษิต ย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติต่างศาสนาต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน คำสุภาษิตนั้น เป็นคำสั้นๆ จำได้ ไม่ยากเย็น อีกทั้งไพเราะ และมีความหมาย ลึก กินใจ ดังนั้น Dhammathai.org เห็นว่า “พุทธศาสนสุภาษิต”   มีคุณค่า และประโยชน์ แก่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้ที่อยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยสูงอายุ หากมีเวลา ให้แก่พระศาสนาบ้าง เพียงอ่าน และท่องจำวันละบท ศึกษาให้เข้าใจ

     ทั้งนี้ก็เพื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะบังเกิดประโยชน์แก่ตนเอง และ  ผู้อื่นโดยทั่วไป  “พุทธศาสนสุภาษิต” นี้ ได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจาก สำนักพิมพ์ธรรมสภา โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ เอาไว้ 20 หมวดด้วยกัน ทำให้สะดวก ต่อการค้นหา และ เริ่มค้นหา “เครื่องเตือนสติ” เพื่อความอิ่มเอม ซาบซึ้งในรสพระธรรม

 แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : 
 หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ ธรรมสภาจัดพิมพ์ 
 หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน 

 ข อ ข อ บ คุ ณ : 
 มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
 สำนักพิมพ์ธรรมสภา